อาหารคลีน (Clean Food) คือ อาหารที่ไม่มีสารปรุงแต่งจากสารเคมี อาทิ สารกันบูด หรือสารผสมอาหารอื่น ๆ รวมทั้ง อาหารคลีนนั้นเป็นอาหารที่ผ่านการแปรรูปน้อยที่สุดเท่าที่จะสามารถปรุงเป็นอาหารได้ โดยเน้นการรับรสที่มากับอาหารแบบธรรมชาติ ๆ รสอาหารจะไม่จัดจ้านอย่างที่คนไทยชอบเท่าไหร่นัก
และถ้าสามารถเลือกได้ วัตถุดิบของอาหารคลีนนั้นควรเลือกที่ปลูกและเลี้ยงด้วยวิธีธรรมชาติ หรือวิธีปลูกหรือเลี้ยงแบบออร์แกนิก ไม่ว่าจะเป็นผัก ผลไม้ และเนื้อสัตว์ ที่นำมาปรุงอาหาร เนื่องจากรสชาติแท้ ๆ ของวัตถุดับออร์แกนิกจะอร่อยกว่าการเพาะปลูกและเลี้ยงโดยใช้สารเคมี
อาหารคลีนดีต่อสุขภาพมากกว่าอาหารปกติหรือไม่
อาหารที่ถูกแปรรูปน้อยย่อมดีต่อสุขภาพกว่าอาหารที่ผ่านการแปรรูปมามาก ทั้งการปรุงรสแต่งกลิ่นที่น้อยลงซึ่งเป็นการลดโซเดียม และน้ำตาล แน่นอนว่าต้องดีต่อสุขภาพ (ถึงแม้ว่ารสชาติจะไม่ค่อยถูกปากก็เถอะ)
และจะดีต่อสุขภาพมากกว่านั้นถ้าเราสามารถเลือกทำหรือเลือกซื้ออาหารคลีนที่ใช้วัตถุดิบแบบออร์แกนิกหรือการเพาะปลูกและเลี้ยงแบบตามธรรมชาติ ไม่ใช้สารเคมี ไม่เร่งโต ไม่ใส่ยาฆ่าแมลง และปุ๋บสังเคราะห์ เนื่องจากมีงานวิจัยบางชิ้นได้นำเสนอว่าอาหารออร์แกนิกและผลิตภัณฑ์จากธรรมชาตินั้นมีคุณค่าทงาโภชนาการมากกว่าอาหารที่ปลูกทั่ว ๆ ไป
ดังนั้นถ้าอยากกินอาหารคลีนให้ดีต่อสุขภาพแบบ x2 เลือกทำหรือซื้ออาหารคลีนจากร้านที่ได้มีใบรับรองวัตถุดิบออร์แกนิก หรือ อย่างน้อย ๆ ก็ GAP หรือพืชอินทรีย์จะดีที่สุดค่ะ
ทำไมอาหารคลีนถึงมีราคาแพงกว่าอาหารทั่วไป
ถ้าเราอยู่ในเมืองต้องบอกตามตรงเลยว่าอาหารคลีนที่ขาย ๆ กันอยู่ จะแพงกว่าอาหารทั่วไป เนื่องจากต้นทุนวัตถุดิบที่มานั้นแพงกว่า ลองดูในตลาดหรือใน super market จะเห็นได้ชัดเจนเลยว่า ระหว่างผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ แบบเดียวกัน น้ำหนักเท่ากัน วัตถุดิบที่มีตราออร์แกนิกหรือ GAP นั้นจะสูงกว่า แต่ถ้าเรารู้แหล่งผลิต หรืออยู่ใกล้แหล่งผลิตอาหารคลีนอาจจะราคาไม่ได้แพงมากกว่าอาหารปกตินัก
สาเหตุที่วัตถุดิบออร์แกนิกราคาสูงกว่าผลผลิตทางการเกษตรทั่วไป
ต้นทุนการผลิต
เริ่มตั้งแต่วิธีเพาะปลูกแบบเกษตรอินทรีย์ และออร์แกนิกนั้นมีต้นทุนการผลิตที่สูงกว่า ไม่ว่าจะเป็นเมล็ดพันธุ์ก็ต้องแบบอินทรีย์ ปุ๋ย ยาฆ่าแมลงก็ต้องอยู่ในกรอบที่สามารถใช้ได้
อีกทั้งเกษตรอินทรีย์ และออร์แกนิกมีความเสียงสูงกว่าในการถูกโรคพืช โรคสัตว์ลง เนื่องจากขั้นตอนการเพาะเลี้ยงที่ไม่อิงกับสารเคมี
การขยายฟาร์ม
ฟาร์มออร์แกนิกและเกษตรอินทรีย์ส่วนมากมักจะมีขนาดเล็ก เพื่อให้สามารถดูแลได้อย่างทั่วถึง อีกทั้งการขยายฟาร์มยังมีกฏเกณฑ์ และข้อบังคับให้ต้องปฏิบัติตามอีกมาก กว่าจะขยายฟาร์มได้อย่างต่ำ ๆ ก็ต้องใช้เวลา 3 ปี 5 ปี ทำให้ราคาผลผลิตที่ออกมามีราคาต้นทุนสูงกว่า การทำฟาร์ม การทำเกษตรทั่วไป
ช่องทางการจัดจำหน่าย
เกษตรกรออร์แกนิกและอินทรีย์นั้นส่วนมากไม่สามารถเข้าถึงลูกค้าได้โดยตรง ต้องส่งผลผลิตของตนไปยังช่องทางจัดจำหน่ายเฉพาะ อาทิ ร้านค้าเฉพาะทางที่ขายออร์แกนิก ซึ่งมีไม่มาก มีค่าฝากขาย และมีระยะเวลาในการได้รับเงิน ซึ่งเป็นการเพิ่มต้นทุนของอาหาร
ดังนั้นหากใครที่สามารถเข้าถึงฟาร์มออร์แกนิกหรือฟาร์มอินทรีย์ได้ ก็จะได้ทานอาหารสุขภาพในการแทบจะเท่ากับอาหารทั่ว ๆ ไปเลย
ใบรับรอง
ต้องบอกว่ากว่าเกษตรกรจะได้ใบรับรองออร์แกนิกหรือเกษตรอินทรีย์ (GAP) นั้นไม่ง่าย มีข้อบังคับให้ปฏิบัติตามมากมาย เมื่อผ่านข้อบังคับแล้วก็ต้องจ่ายค่าใบรับรองที่มีระยะเวลาจำกัด ในราคาสูงระดับหนึ่ง
จะเห็นได้ว่าวัตถุดิบแบบออร์แกนิกและอินทรืย์นั้นมีราคาแพง ทำให้ส่งผลกระทบโดยตรงต่ออาหารคลีนที่ปรุงโดยผลผลิตออร์แกนิกหรืออินทรีย์เหล่านั้น แต่ต้องบอกเลยว่าโภชนาการที่ได้รับนั้นมากกว่าอาหารปกติที่ทานทุกวัน นอกนั้นยังเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยสิ่งแวดล้อมผ่านการสนับสนุนเกษตรกรให้หันมาเพาะปลูกแบบออร์แกนิกและอินทรีย์
สรุปอาหารคลีน
อาหารคลีนเป็นอาหารที่ผ่านการปรุงน้อย และใช้วัตถุดิบออร์แกนิก ซึ่งดีต่อสุขภาพและมีโภชนาการสูง สำหรับใครที่เริ่มเปลี่ยนมาทานอาหารคลีนแนะนำว่าควรค่อย ๆ เริ่มเปลี่ยนเพื่อให้เกิดความคุ้นเคย อย่าพยายามฝืนทนไม่งั้นแล้วสุขภาพกายดี แต่สุขภาพจิตใจอาจจะแย่ก็เป็นได้